กสพท คืออะไร สอบวิชาอะไรบ้าง เตรียมสอบยังไงให้ติดแพทย์ ล้วงลึกเคล็ดลับเตรียมสอบสู่เส้นทางของการเป็นหมอ

กสพท คืออะไร สอบวิชาอะไรบ้าง เตรียมสอบยังไงให้ติดแพทย์ ล้วงลึกเคล็ดลับเตรียมสอบสู่เส้นทางของการเป็นหมอ

น้องๆ หลายคนที่เริ่มเข้าเรียน ม.ปลาย อาจสงสัยกันว่าการสอบ กสพท คืออะไร ใครบ้างที่ต้องสอบ เงื่อนไขและกฎเกณฑ์มีอะไรบ้าง วันนี้ครูกุ๊กจะพามาไขข้อข้องใจ รวมถึงการเตรียมตัวสอบ สำหรับน้องๆ คนไหนที่มีแพลนอยากเข้าสู่เส้นทางหมอตามไปดูกันได้ที่บทความนี้

dekwiz article กสพท คืออะไร กสพท คืออะไร สอบวิชาอะไรบ้าง เตรียมสอบยังไงให้ติดแพทย์ ล้วงลึกเคล็ดลับเตรียมสอบสู่เส้นทางของการเป็นหมอ

กสพท คืออะไร ครอบคลุมคณะอะไรบ้าง

กสพท มีชื่อย่อมาจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย คือกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ในหลายมหาวิทยาลัยชั้นนำในไทยที่มาร่วมกันจัดสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคัดเลือกเป็นไปในมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ แล้วสอบแพทย์ใช้คะแนนอะไรบ้าง? น้องๆ อย่าลืมศึกษาในเรื่องนี้ด้วยนะ

มีคณะอะไรที่ต้องใช้คะแนนจาก กสพท บ้าง

  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์

ทำไมต้องสอบ กสพท?

  • มาตรฐานเดียวกัน การสอบ กสพท จะทำให้การคัดเลือกนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มคณะแพทย์ เป็นไปอย่างยุติธรรม และมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
  • คณะ สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยชั้นนำ คณะหรือสาขาวิชาที่อยู่ในสายสุขภาพ อย่างเช่น คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในไทย สังกัดอยู่ภายใต้ กสพท
  • โอกาสในการศึกษาต่อ ในคณะที่เป็นที่ต้องการในสายแพทย์, ทันตะ, สัตวแพทย์ รวมถึงเภสัช

กสพท สอบอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้วการสอบ กสพท ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ เลยก็คือ

  • การสอบ TPAT1: เป็นข้อสอบวัดความถนัดเฉพาะทางของ กสพท ซึ่งจะเน้นความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ รวมถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และการใช้ภาษาอังกฤษ
  • การสอบ A-Level: เป็นการสอบวัดความรู้ในระดับสูง โดยจะเน้นความรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สมัคร เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์

มหาวิทยาลัยในไทยที่เข้าร่วม กสพท (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย)

คณะแพทยศาสตร์

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น – จำนวนเปิดรับ 20 ที่นั่ง
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – จำนวนเปิดรับ 176 ที่นั่ง
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ – จำนวนเปิดรับ 30 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – จำนวนเปิดรับ 24 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – จำนวนเปิดรับ 65 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร – จำนวนเปิดรับ 35 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยมหิดล รพ.รามาธิบดี – จำนวนเปิดรับ 90 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยมหิดล ศิริราชพยาบาล – จำนวนเปิดรับ 152 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยรังสิต รพ.ราชวิถี – จำนวนเปิดรับ 50 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยรังสิต รพ.เลิดสิน – จำนวนเปิดรับ 15 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยรังสิต รพ.นพรัตนราชธานี – จำนวนเปิดรับ 15 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ – จำนวนเปิดรับ 140 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – จำนวนเปิดรับ 40 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช – จำนวนเปิดรับ 50 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช รพ.ตากสิน – จำนวนเปิดรับ 20 ที่นั่ง
  • วิทยาลัยแพทยศาสตรพระมงกุฎเกล้า (ชาย) – จำนวนเปิดรับ 65 ที่นั่ง
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (หญิง) – จำนวนเปิดรับ 45 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี – จำนวนเปิดรับ 12 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยบูรพา – จำนวนเปิดรับ 50 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง – จำนวนเปิดรับ 16 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสยาม – จำนวนเปิดรับ 20 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางวัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ – จำนวนเปิดรับ 14 ที่นั่ง
  • มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ – จำนวนเปิดรับ 21 ที่นั่ง

คณะทันตแพทยศาสตร์

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – จำนวนเปิดรับ 54 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยมหิดล – จำนวนเปิดรับ 80 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – จำนวนเปิดรับ 15 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ – จำนวนเปิดรับ 30 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – จำนวนเปิดรับ 30 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร – จำนวนเปิดรับ 45 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเนชั่น – จำนวนเปิดรับ 15 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยรังสิต – จำนวนเปิดรับ 60 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสยาม – จำนวนเปิดรับ 30 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง – จำนวนเปิดรับ 22 ที่นั่ง

คณะสัตวแพทยศาสตร์

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – จำนวนเปิดรับ 105 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – จำนวนเปิดรับ 35 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น – จำนวนเปิดรับ 12 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยมหิดล – จำนวนเปิดรับ 45 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก – จำนวนเปิดรับ 15 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง

คณะเภสัชศาสตร์

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) – จำนวนเปิดรับ 67 ที่นั่ง
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) – จำนวนเปิดรับ 78 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยมหิดล – จำนวนเปิดรับ 50 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – จำนวนเปิดรับ 60 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) – จำนวนเปิดรับ 20 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) – จำนวนเปิดรับ 20 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – จำนวนเปิดรับ 30 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) – เปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสยาม (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) – เปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ – เปิดรับ 20 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยพายัพ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ) – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น (หลักสูตรไทย) – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น – จำนวนเปิดรับ 10 ที่นั่ง

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องสอบ

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ต้องการสอบเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ ภายใต้ระบบ กสพท นั้น ไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติพิเศษใดๆ นอกเหนือจากคุณสมบัติทั่วไปในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือเทียบเท่า: หมายถึงต้องจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือมีวุฒิการศึกษาที่เทียบเท่า ม.6 หรือเด็กซิ่ว
  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง: เนื่องจากเป็นสาขาที่ต้องใช้ร่างกายในการปฏิบัติงาน
  • มีคุณธรรม จริยธรรม: ผู้ที่ทำงานในสายสุขภาพต้องมีความรับผิดชอบสูง มีจิตใจเมตตา และมีความซื่อสัตย์

ดูคอร์สเคมีแนะนำกับครูกุ๊ก

เคล็ดลับการเตรียมตัวสอบ

  • ศึกษาหลักสูตร: ศึกษาหลักสูตรและเนื้อหาที่สอบของแต่ละคณะให้ละเอียด
  • ฝึกทำข้อสอบ: ฝึกทำข้อสอบเก่าของ และข้อสอบจำลอง เพื่อทำความคุ้นเคยกับรูปแบบข้อสอบและเพิ่มความคล่องแคล่ว
  • เรียนรู้ทฤษฎี: ทบทวนเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ให้แน่น
  • จัดตารางเวลา: วางแผนการเรียนและการฝึกทำข้อสอบให้เป็นระบบ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ: การพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้มีสมาธิในการเรียนและทำข้อสอบ
  • ปรึกษาอาจารย์: หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาหรือแนวทางการเตรียมตัวสอบ ควรปรึกษาอาจารย์ผู้สอน

เตรียมตัวสอบ ด้วยวิชาเคมีครูกุ๊ก

วิชาเคมีเป็นหนึ่งในวิชาสำคัญที่ออกสอบใน TPAT1 การเรียนรู้เคมีกับครูกุ๊ก หรืออาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์ จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจหลักการทางเคมีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำข้อสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ข้อมูลเพิ่มเติม : เว็บไซต์ กสพท