วิชาเคมีของ ม.6 ควรเรียนเนื้อหาจบในเทอม 1 แล้วเทอม 2 จะเป็นช่วงเวลาฝึกโจทย์รวมทุกบทสำหรับทำคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย
บทเรียนใน ม.6 จะคือ โครงสร้างสารอินทรีย์ เคมีอินทรีย์ และพอลิเมอร์ ครูจะเล่าภาพรวมคร่าวๆ ของแต่ละเรื่องให้น้องอ่านจบได้ใน 4-5 นาที
1. โครงสร้างสารอินทรีย์
เป็นพื้นฐานสำคัญของเคมีอินทรีย์ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ โครงสร้างโมเลกุลสารอินทรีย์ กับ ไอโซเมอร์
โครงสร้างโมเลกุลสารอินทรีย์
- วิธีเขียนโครงสร้างโมเลกุลจะมีอยู่ 4 แบบ (แบบเต็ม แบบย่อ แบบผสม แบบเส้นและมุม) ที่ต้องเรียน ซึ่งหลักการเขียนก็ใช้พื้นฐานจากบทพันธะเคมี
- หมู่ฟังก์ชันในสารอินทรีย์ 10 หมู่ (คือกลุ่มอะตอมที่ทำหน้าที่ในการเกิดปฏิกิริยาบางอย่างเฉพาะตัว) ทำให้เกิดสารอินทรีย์หลากหลายชนิดที่เราต้องเรียน ได้แก่ พันธะคู่ระหว่างคาร์บอน พันธะสามระหว่างคาร์บอน แอลกอฮอล์ อีเทอร์ กรดอินทรีย์ เอสเตอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน เอมีน เอไมด์
- ต่อด้วยการเรียกชื่อ (เมื่อเขียนโครงสร้างเป็นแล้ว รู้จักหมู่ฟังก์ชันแล้ว) สารอินทรีย์แต่ละกลุ่มจะมีวิธีเรียกชื่อที่ต่างกัน แต่มีหลักการคล้ายกัน (การกำหนดโซ่หลักและโซ่กิ่ง) เรียนหลักการก่อนแล้วจึงไปประยุกต์ใช้กับแต่ละกลุ่มสารจะช่วยให้ง่ายขึ้น
ไอโซเมอร์ (ISOMER)
ระหว่างเขียนโครงสร้างและเรียกชื่อสารอินทรีย์ เราจะเห็นสารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่เป็นคนละสารกัน (เพราะมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน) เราเรียกว่าเป็นไอโซเมอร์กัน
ปิดท้ายด้วย สเตอริโไอโซเมอร์ (Sterioisomer) เป็นเรื่องย่อยในไอโซเมอร์อีกทีหนึ่ง จะพูดถึงสารที่มีสูตรเหมือนกัน มีโครงสร้างและพันธะเหมือนกัน แต่มีการบิดตัวของโซ่โมเลกุล ทำให้การเรียงตัว การจัดวางอะตอมอยู่คนละตำแหน่งกัน ใน ม. ปลายนี้จะยังไม่ลงลึกมาก เรียกกันเล่นๆว่า ไอโซเมอร์แบบ ซิส-ทรานส์
2. เคมีอินทรีย์
จะเรียนกัน 2 เรื่องหลักๆ คือ สมบัติต่างๆ ของสารอินทรีย์ กับ ปฏิกิริยาของหมู่ฟังก์ชัน
สมบัติต่างๆ ของสารอินทรีย์ (จะแตกต่างกันไปตามหมู่ฟังก์ชันทั้ง 10 หมู่พื้นฐาน) เริ่มจาก ความอิ่มตัวของสาร (อิ่ม H) จุดเดือด จุดหลอมเหลว ไปจนถึงความเป็นกรดเบส การละลายน้ำ และการละลายกันเอง
ปฏิกิริยาของหมู่ฟังก์ชัน เราจะเรียนรู้ปฏิกิริยาของทั้ง 10 หมู่ฟังก์ชัน (พันธะคู่ระหว่างคาร์บอน พันธะสามระหว่างคาร์บอน แอลกอฮอล์ อีเทอร์ กรดอินทรีย์ เอสเตอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน เอมีน เอไมด์) เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ชนิดสาร สมมติว่าเรามีสารชนิดหนึ่งที่ไม่ทราบว่าเป็นสารอะไร เราก็นำมาทดสอบด้วยปฏิกิริยาต่างๆ ก็จะรู้ได้ว่าเป็นสารอะไร
3. พอลิเมอร์
จะแบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ และมลพิษ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม นึกถึงแท่นขุดเจาะน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ ที่ดูดสารไฮโดรคาร์บอนขึ้นมาจากใต้แผ่นหินเปลือกโลก มีตั้งแต่โมเลกุลเล็กๆ ที่มี 1 คาร์บอนอะตอม ไปจนถึงโมเลกุลใหญ่ๆที่มีหลายสิบคาร์บอนอะตอม สารเหล่านี้จะถูกแยกเป็นกลุ่มๆ เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์แตกต่างกันตามสมบัติของสารแต่ละกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น แก๊สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง สารตั้งต้นปิโตรเคมี
พอลิเมอร์ (Polymer) เกิดจากสารตั้งต้นปิโตรเคมีโมเลกุลเล็ก (เรียกว่า monomer) เชื่อมต่อกันเป็นโมเลกุลใหญ่ เชื่อต่อกันยังไง เกิดปฏิกิริยาแบบไหน เอาไปใช้งานอะไรบ้าง นี่คือสิ่งที่เรียนกัน
มลพิษ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำจากการขุดเจาะ แยกชนิด ผลิต และใช้งานปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ แบ่งเป็นทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรียนกันใน ม.6 น้องสามารถเข้าใจทั้ง 3 เรื่องนี้ (พร้อมได้ฝึกโจทย์ 700 คำถาม) ในคอร์สเรียนเคมี STEP UP ม.6 (ความยาวคลิป 15 ช.ม.) ได้ครบทั้งเนื้อหาและโจทย์ โดยใช้เวลาเรียนประมาณ 24-30 ช.ม. เท่านั้น ก็จบทั้งเทอมนี้แล้ว กดสมัครที่นี่
หากน้องๆ คนไหนต้องการทบทวนเนื้อหา ติวเคมีสำหรับสอบ สามารถดูรายละเอียดคอร์สเคมีกับครูกุ๊กได้ เรามีคอร์สเคมีหลายคอร์สที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไปสมัครคอร์สเรียนเคมีกันเลย